โรคพาร์กินสัน สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา โรคที่ผู้สูงอายุไม่ควรมองข้าม!

โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่หลายคนอาจจะคุ้นหูแต่ยังไม่รู้จักกับโรคนี้ดีเท่าไหร่นัก ว่าโรคชนิดนี้คืออะไร อันตรายมากน้อยแค่ไหน แล้วมีโอกาสรักษาหายไหม ถ้าอยากรู้อย่ามัวรอช้า โดยเฉพาะคนที่มีผู้สูงอายุภายในบ้าน ห้ามพลาดที่จะอ่านบทความนี้เด็ดขาด ถ้าพร้อมแล้วตามไปดูกันได้เลย!

โรคพาร์กินสัน คือ โรคที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของระบบประสาทและสมอง ทำให้ผลิตสารสื่อประสาทที่มีผลต่อการสั่งการส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย ส่งผลต่ออารมณ์และการตื่นตัว เคลื่อนไหวร่างกาย หรือที่เรียกว่า สารโดปามีน (Dopmine) ได้น้อยลงกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดอาการมือสั่น ตัวสั่น เคลื่อนไหวช้า ตามมา

โรคพาร์กินสัน สาเหตุคืออะไรยังไม่มีใครสามารถพิสูจน์ได้แน่ชัด แต่ทางการแพทย์มีการสันนิษฐานว่าอาจเกิดได้จาก 2 ปัจจัยดังต่อไปนี้

  •  พันธุกรรม ในผู้ป่วยบางรายอาจมียีนที่ผิดปกติแต่กำเนิด ซึ่งอาจส่งผลต่อการเสื่อมสภาพของเซลล์สมองและเสี่ยงที่จะเกิดโรคพาร์กินสันได้
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิตและสภาพแวดล้อม อาจเกิดจากการสูดดมสารเคมีบางชนิดโดยไม่รู้ตัว ที่ส่งผลต่อการเสื่อมสภาพของเซลล์สมอง แต่ทางการแพทย์เองก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้แน่ชัดว่าสารดังกล่าวคือสารชนิดใด

โรคพาร์กินสัน อาการเริ่มต้น ที่สังเกตได้ชัดเจนคืออาการสั่นโดยไร้สาเหตุ คิดช้า เคลื่อนไหวตัวช้า นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ ในผู้ช่วยบางรายอาจหยุดนิ่งไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ หลังงุ้ม เดินซอยเท้า พูดช้า น้ำลายไหลโดยไม่รู้ตัว ทั้งนี้ความรุนแรงของอาการที่แสดงออกมา จะขึ้นอยู่กับระยะอาการของผู้ป่วยด้วยเช่นเดียวกัน

โรคพาร์กินสันมีทั้งหมด 5 ระยะ ด้วยกัน ซึ่งแต่ละระยะก็จะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่

1. โรคพาร์กินสันระยะเริ่มต้น

ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันระยะเริ่มต้น มักจะมีอาการปวดเมื่อยร่างกาย มือสั่น นิ้วล็อก หรือรู้สึกควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกายตนเองไม่ได้ในระยะเวลาสั้น ๆ

2. โรคพาร์กินสัน ระยะที่ 2 

อาการผู้ป่วยในระยะนี้มักจะมีภาวะตัวโก่งงอไปด้านหน้า หลังเริ่มค่อมลงเล็กน้อย บวกกับมีอาการสั่นและเคลื่อนไหวช้า ร่างกายหยุดนิ่งในบางเวลาเช่นเดียวกับระยะที่ 1

3. โรคพาร์กินสัน ระยะที่ 3 

ในระยะที่ 3 นี้ผู้ป่วยจะเริ่มสูญเสียการทรงตัว ล้มง่าย ลุกนั่งลำบาก ยังคงมีอาการสั่นและเคลื่อนไหวช้าเช่นเดียวกัน

4. โรคพาร์กินสัน ระยะที่ 4 

เป็นระยะที่ผู้ป่วยจะไม่ค่อยมีอาการสั่นมากเท่าระยะ 1-3 แต่ร่างกายจะเริ่มแข็งเกร็ง มีอาการเคลื่อนไหวช้า และสูญเสียการทรงตัว ช่วยเหลือตัวเองได้ลำบาก ระยะนี้ควรมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด

5. โรคพาร์กินสัน ระยะสุดท้าย

ระยะสุดท้ายเป็นระยะที่ผู้ป่วยแทบจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เลย จะเรียกว่าเป็นผู้ป่วยติดเตียงก็ได้เช่นกัน กล้ามเนื้อจะแข็งเกร็งจนไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ มือและเท้าจะเริ่มหงิกงอ และเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนมากมายตามมา

โรคพาร์กินสัน วิธีรักษา หลัก ๆ เลยคือการรับยาไปทานเพื่อเพิ่มสารโดปามีนทดแทนในส่วนที่เสื่อมสภาพไป หรืออีกหนึ่งวิธีคือการผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยที่ร่างกายไม่ตอบสนองต่อยา จะใช้วิธีการผ่าตัดเพื่อฝังขั้วไฟฟ้าในการกระตุ้นสมองแทน  บวกกับการทำกายภาพบำบัดในเบื้องต้น เพื่อให้ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหวและฝึกการทรงตัว

การดูแลผู้ป่วยพาร์กินสัน ในระยะที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ควรให้ผู้ป่วยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการใช้งานของกล้ามเนื้อ และให้ทานอาหารที่มีประโยชน์เน้นสร้างพลังงานและโปรตีน เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ประกอบกับการจัดยาให้ทานอย่างสม่ำเสมอ เท่านี้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับเข้าสู่สภาวะใกล้เตียงกับปกติได้มากที่สุดแล้วล่ะค่ะ

  ภาวการณ์เสื่อมสภาพของสมองเป็นภาวะที่ผู้สูงอายุทุกคนจะต้องเจอ หากใครที่มีผู้สูงอายุที่บ้านและอยากตรวจเช็กสมอง สามารถเข้ารับการปรึกษาและได้ที่ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อิชิ ดูแล ที่นี่สามารถดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยโรคพาร์กินสันได้เป็นอย่างดี สามารถเข้ารับคำแนะนำและรับขอรับรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 084 458 4591 Facebook หรือ Email : Ishiistrokecenter@gmail.com  

พาร์กินสันระยะสุดท้ายอยู่ได้กี่ปี

พาร์กันสันในระยะสุดท้ายเป็นระยะที่รุนแรงจนผู้ป่วยต้องอยู่ในสภาวะติดเตียง แต่ไม่ได้มีการวิจัยที่แน่ชัดว่าในระยะสุดท้ายผู้ป่วยจะมีอายุต่อเฉลี่ยได้อีกกี่ปี ขึ้นอยู่กับการดูแล การทานอาหาร การทำกายภาพประกอบด้วยเช่นกัน หากผู้ช่วยมีสุขภาพจิตที่ดี ทานอาหารที่มีประโยชน์ได้มาก ไม่เกิดโรคแทรกซ้อน ผู้ป่วยก็จะสามารถมีอายุต่อได้อีกหลายปี 

โรคพาร์กินสัน อันตรายไหม

พาร์กันสันเป็นโรคทางด้านร่างกายที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิต อาจไม่ได้ลุกลามเหมือนเชื้อชนิดอื่น ๆ หากดูแลตนเองอย่างถูกวิธีและทานยาตามที่หมอสั่ง หมั่นกายภาพทั้งกายและจิต โรคนี้ก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดค่ะ แต่หากอยู่ในระยะ 3-4 ก็จะทำให้คุณภาพในการช่วยเหลือตนเองและด้านการใช้ชีวิตลดลงไปมาก อาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือหกล้มตามมานั่นเอง

Similar Posts