ทำตามได้ภายใน 1 นาที! กับ 3 วิธีฟื้นฟูกล้ามเนื้อขาอ่อนแรงได้ง่าย ๆ ด้วยการกายภาพบำบัด

ขาอ่อนแรง คือ อาการที่เป็นปัญหากับผู้ป่วยที่ไม่สามารถหยิบจับหรือลุกขึ้นเดินเหมือนอย่างปกติ ซึ่งสาเหตุของอาการอาจจะมาจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือภาวะหลอดเลือดสมอง (stroke) หรือแม้กระทั่งผู้สูงอายุที่มีเคลื่อนไหวน้อย หรือเคลื่อนไหวไม่ได้เลย เช่น ผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ดังนั้น จึงใช้วิธีรักษาโดยการกายภาพบำบัดกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งจะสามารถฟื้นฟูกล้ามเนื้อขา ช่วยให้ผู้ป่วยขาอ่อนแรงกลับมาทำกิจวัตรประจำวันได้

ขาอ่อนแรง เกิดจากอะไร และ มีอาการอย่างไร

ขาอ่อนแรง เกิดจากระบบเส้นประสาทที่ทำหน้าที่สั่งการกล้ามเนื้อมีความผิดปกติ ส่งผลให้ระบบกล้ามเนื้อขาฝ่อลีบจากการไม่ได้ใช้งาน หากมีสัญญาณเตือนต้องรีบเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที โดยสังเกตอาการ ขาอ่อนแรงง่าย ๆ เช่น ยกขาไม่พ้นพื้น เดินเซ หรือเดินปลายเท้าตก ซึ่งอาจมีภาวะหลอดเลือดสมองร่วมด้วย หากมีอาการรุนแรงอาจมีความเสี่ยงเป็นอัมพฤกษ์-อัมพาตได้

อาการกล้ามเนื้อขาอ่อนแรงรักษาอย่างไร และสามารถป้องกัน ขาอ่อนแรงได้หรือไม่

การวางแผนการรักษาจะต้องมีความละเอียดรอบคอบ หากทำการวินิจฉัยเรียบร้อยแล้วอาจจะรักษาโดยวิธีการให้ยาที่ช่วยทำให้กล้ามเนื้อมีแรงเพิ่มมากขึ้น หรือให้ยาปรับภูมิคุ้มกันของระบบในร่างกาย เพื่อกดภูมิคุ้มกันที่สร้างมาทำร้ายตัวเอง และให้ผู้ป่วยทำการกายภาพด้วยนักกายภาพบำบัดและพยาบาลมืออาชีพ และอาการขาอ่อนแรงสามารถป้องกันได้โดย การออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง และควรรับประทานยาให้ตรงตามเวลาอย่างต่อเนื่อง พักผ่อนให้เพียงพอและต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ที่สำคัญต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง

วิธีกายภาพบำบัด ขาอ่อนแรง เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัว

สาเหตุของอาการขาอ่อนแรงมักจะมักเกิดจากระบบประสาทและระบบกล้ามเนื้อที่มีความผิดปกติ หากมีอาการรุนแรงถึงขั้นต้องเข้าพบแพทย์ก็อาจจะมีการกายภาพบำบัดร่วมด้วย เนื่องจากอาจมีความเสี่ยงเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ดังนั้นการกายภาพบำบัด ขาอ่อนแรง ก็จะช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อให้กลับมาแข็งแรงได้อีกครั้ง วิธีกายภาพบำบัด ขาอ่อนแรง สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

  1. นอนหงายและกางขาออกทีละข้าง ค่อย ๆ หุบขาเข้าและกางออกอย่างช้า ๆ สลับกันไป ทำประมาณ 10-15 ครั้ง อย่างน้อย 2-3 เซต เพื่อกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อขา
  2. นอนหงายและชันเข่าขึ้น ทีละข้างและเหยียดเข่าให้สุด ค่อย ๆ งอและเหยียดอย่างช้า ๆ ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ 10-12 ครั้ง อย่างน้อย 3 เซต
  3. นอนหงายและทำการชันขาทั้งสองข้าง จากนั้นให้ยกสะโพกขึ้นค้างไว้ 10 วินาที และค่อยๆ ผ่อนสะโพกลงอย่างช้า ๆ จนถึงพื้น ทำติดต่อกันเรื่อย ๆ 10-15 ครั้ง และทำทั้งหมด 3 เซต

อาการขาอ่อนแรงที่บ่งชี้ว่าเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท 

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ขาอ่อนแรง มักจะมีอาการปวดร้าวลงมาที่ขา ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการชาบริเวณปลายเท้าร่วมด้วย ซึ่งถือว่าเป็นอาการค่อนข้างรุนแรง เนื่องจากหมอนรองกระดูกชิ้นใหญ่เกิดการเคลื่อนและปลิ้นออกมาเบียดรากเส้นประสาท แต่ยังสามารถทำการกายภาพบำบัดเพื่อทำการรักษาอาการต่าง ๆ เหล่านี้ได้ ดังนี้

1. ขาอ่อนแรงข้างเดียว

อาการของกล้ามเนื้อขาอ่อนแรงข้างเดียวอาจไม่ค่อยรุนแรงมากนัก เพียงแค่ต้องออกกำลังกายเพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อขาให้แข็งแรงมากขึ้น เช่น การใช้ถุงทรายถ่วงน้ำหนักที่ขาเพื่อเพิ่มแรงต้าน ช่วยให้ผู้ป่วยขาอ่อนแรงได้ใช้แรงขาและได้ออกแรงเพิ่มมากยิ่งขึ้น จากนั้นอาจจะมีภาวะกล้ามเนื้อล้าหรือระบมได้ ซึ่งเรื่องปกติ และควรฝึกแบบนี้ไปเรื่อย ๆ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยปรับตัวได้ภาวะล้าของกล้ามเนื้อ

2. ขาอ่อนแรง 2 ข้าง

อาจมีอาการรุนแรงและถึงขั้นต้องใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าเข้ามาช่วย เนื่องจากเป็นเครื่องมือกายภาพบำบัดอีกหนึ่งวิธีที่ใช้การสั่งการจากกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นการหดและตัวคลายตัว ทำให้ชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อขาได้เป็นอย่างดี เส้นประสาทจะค่อย ๆ ฟื้นตัวจากความเสียหาย และกลับมาออกกำลังกายได้อีกครั้ง โดยอาจจะเป็นท่าบริหารง่าย ๆ เพื่อป้องกันการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อขา

หากผู้ที่ป่วยภาวะขาอ่อนแรงและต้องการที่จะฟื้นตัวให้ไวขึ้นอยู่กับผู้ดูแลและการกายภาพบำบัดด้วยเช่นกัน หากการดูแลหรือการเอาใจใส่ในผู้ป่วยไม่มากพอ อาจจะทำให้ผู้ป่วยต้องอยู่กับภาวะขาอ่อนแรงไปอีกระยะหนึ่ง ดังนั้นควรหมั่นทำกายภาพบำบัดอยู่เสมอ เนื่องจากอาการของผู้ช่วยก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นหลังจากการที่ได้รับการกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง หรือหากใครที่ไม่มีเวลาดูแลผู้ป่วยขาอ่อนแรง สามารถใช้บริการศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อิชิ ที่มีนักกายภาพบำบัดที่คอยดูแลคนที่คุณรักได้อย่างหมดห่วง เนื่องจากทางศูนย์มีบริการกายภาพบำบัด มืออาชีพที่สามารถช่วยฟื้นฟูร่างกายให้ผู้ป่วย สามารถกลับมาหายดีได้ใกล้เคียงปกติได้มากที่สุด หากท่านสนใจสามารถติดต่อได้ที่เบอร์ 084 458 4591 Facebook หรือ Email : Ishiistrokecenter@gmail.com ได้เลยค่ะ

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

ขาไม่มีแรง ทำไงดี

ขาอ่อนแรงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างอันตรายเป็นอย่างมาก เนื่องจากอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่เกิดขึ้นมาจากสาเหตุภาวะหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทหรือเกิดจากอุบัติเหตุ หรือแม้กระทั่งบ่งบอกได้ถึงโรคหลอดเลือดสมองอักเสบ รวมไปถึงสมรรถภาพทางร่างกายที่ถดถอยลง ทำให้มวลกล้ามเนื้อน้อยลงส่งผลให้กล้ามเนื้อฝ่อลีบ และหากมีอาการบริเวณที่ขาหรือเท้าข้างใดข้างหนึ่งยกไม่ขึ้น ไม่มีแรงเดิน หรือหกล้มบ่อย ต้องรีบไปพบแพทย์และทำการตรวจวินิจฉัยให้อย่างละเอียด เพื่อที่จะได้รับการรักษาได้ทันท่วงที

ขาไม่มีแรงกินอะไรดี

การรับประทานผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ หรือธัญพืชที่มีไฟเบอร์สูง จะช่วยป้องกันอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ดี หรืออาจรับประทานเนื้อปลาหรือเนื้อไก่เพิ่มโปรตีน และช่วยให้เพิ่มกล้ามเนื้อ เนื่องจากโปรตีนเป็นสิ่งที่ร่างกายดูดซึมไปสร้างกล้ามเนื้อได้ดีที่สุด อีกทั้งยังย่อยง่ายและดูดซึมง่าย และยังมีกรดอะมิโนจำเป็นครบทั้ง 8 ชนิด ที่จะมาช่วยกระตุ้นการสร้างกล้ามเนื้อ

 

Similar Posts