ไม่อยากป่วยต้องรู้ อัมพฤกษ์ อัมพาต คืออะไร! มีวิธีการดูแลรักษาและป้องกันอย่างไร

เคยสงสัยกันหรือไม่ว่าในกลุ่มผู้สูงอายุ อาการแขนขาอ่อนแรงที่อาจนำไปสู่การป่วยเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เกิดจากอะไร การทำความเข้าใจตั้งแต่อัมพฤกษ์ อาการที่เป็นสัญญาณเตือน ตลอดจนหลังเป็นอัมพฤกษ์ การดูแล รวมถึงอัมพฤกษ์ กายภาพบำบัดจะต้องทำอย่างไร และอัมพฤกษ์ การแพทย์ช่วยอะไรได้บ้าง ตลอดจนอัมพฤกษ์ กระตุ้นด้วยเครื่องมือวิธีการอัมพฤกษ์ รักษาต้องทำแบบใด วันนี้บทความของเรารวบรวมข้อมูลมาให้ทุกคนได้ศึกษา เพื่อที่จะนำความรู้ไปปรับใช้ดูแลทั้งตัวเองและคนที่รักได้พร้อมกัน

อัมพฤกษ์ อัมพาตคือโรคอะไร

อัมพฤกษ์ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า cerebrovascular accident (CVA)

โดยอัมพฤกษ์ สาเหตุมาจากหลอดเลือดสมองมีปัญหาอย่างเฉียบพลัน อาจจะเกิดมาจากโรคสมองตีบ อุดตัน หรือหลอดเลือดสมองแตก สาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยงที่ผู้ป่วยมีอยู่ก่อน อาทิ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือภาวะอ้วน ซึ่งส่งผลทำให้หลอดเลือดสมองหดเล็กลง มีไขมันเกาะ และอาจเกิดอาการตีบหรืออุดตันอย่างเฉียบพลันขึ้นได้ สรุปโรคอัมพฤกษ์ หมายถึงโรคหลอดเลือดสมอง โดยความน่ากลัวของโรคคือมันเป็นสาเหตุของอัตราการเสียชีวิตถึงอันดับที่ 2 ซึ่งเป็นรองแค่จากมะเร็ง โดยในไทยมีคนเป็นโรคอัมพฤกษ์มากถึงปีละ  3 แสนคน 

สังเกตได้อย่างไรว่ามีภาวะสมองขาดเลือดที่นำไปสู่โรคอัมพฤกษ์

อัมพฤกษ์ อาการมักเกิดขึ้นมาอย่างเฉียบพลัน อาจเกิดขณะที่ผู้ป่วยทำกิจวัตรกำลังนั่ง เดิน หรือกำลังพูดคุยอยู่ตามปกติ อาการที่ปรากฏมักได้แก่

  • พูดไม่ชัด
  • ลิ้นแข็ง
  • ปากเบี้ยว
  • พูดสื่อสารได้ลำบาก
  • มีอาการอ่อนแรงครึ่งซีก ชาครึ่งตัว เดินเซ
  • ในบางคนอาจตามืดดับฉับพลัน มองไม่เห็น

หากพบว่าตนเองหรือญาติ คนใกล้ชิดมีอาการในลักษณะนี้จะต้องรีบมาโรงพยาบาลให้ไวมากที่สุด เนื่องจากการตรวจร่างกายในโรคสมองตีบภายใน 3 – 4 ชั่วโมงครึ่งหลังมีอาการ ทางแพทย์จะมีการให้ยาละลายลิ่มเลือด เพื่อให้เลือดที่อุดตันสลายออกไปเช่นนี้จะถือว่ารักษาได้อย่างทักท่วงที ทำให้คนไข้มีโอกาสที่จะกลับขึ้นมาเป็นปกติได้ดีมากขึ้น

อัมพฤกษ์ อัมพาต มีวิธีการดูแลรักษาอย่างไร

โรคหลอดเลือดสมองที่ส่งผลทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการอัมพฤกษ์ชั่วคราว แขนขาอ่อนแรง แต่ยังสามารถรักษาและดูแลได้ โดยวิธีการต่อไปนี้

  • อัมพฤกษ์ กระตุ้นประสาทและกล้ามเนื้อ โดยแพทย์แผนไทยใช้การนวดประคบผ่านสมุนไพรไทย เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อให้มีความยืดหยุ่น หลอดเลือดขยายตัวไหลเวียนดีขึ้น ตลอดจนระบบน้ำเหลืองดีขึ้น
  • ใช้แพทย์แผนจีนและแพทย์แผนไทยเข้ามาดูแลรักษาควบคู่กับแพทย์แผนปัจจุบัน ในกลุ่มผู้ป่วยที่เคลื่อนไหวร่างกายได้ แต่ต้านแรงไม่ได้ และกลุ่มที่เคลื่อนไหวได้น้อยเฉพาะแนวราบ เช่น ยกแขนไม่ได้
  • ผู้ป่วยจะต้องหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและทำกายภาพบำบัด
  • คนรอบข้างให้กำลังใจผู้ป่วย

นอกจากนี้ในคนไข้ที่เป็นอัมพฤกษ์ หากไม่ได้อยู่ในขั้นวิกฤต การดูแลรักษาภายใน 2 – 3 วันแรกเป็นระยะที่คุณหมอจะให้งดอาหารดูอาการ เพื่อดูแลไม่ให้อาการทรุดลง และถ้าภายใน 2 – 3 วัน อาการของคนไข้ไม่ได้ทรุดลงแพทย์ก็อาจจะยังไม่มีการทำอะไร นอกจากให้ยาที่ใช้ในการคุมปัจจัยเสี่ยงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเส้นเลือดตีบซ้ำหรือเส้นเลือดแตกเพิ่ม ตลอดจนคุมไขมัน ความดัน เบาหวาน หรืออาจให้ยาค้านเกล็ดเลือด 

แต่ในส่วนของยาลดความดัน เหตุที่ช่วงแรก ๆ บางคนยังไม่ได้รับยาดังกล่าว เนื่องจากเส้นเลือดที่ตีบร่างกายต้องการแรงดันสูงเพื่อนำเลือดไปเลี้ยงในสมอง ยกเว้นผู้ป่วยมีความดันที่สูงวิกฤต

หลักเกณฑ์พิจาณาการผ่าตัดผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นเส้นเลือดตีบจะไม่โดนผ่าตัด แต่ในคนที่จำเป็นจะต้องผ่าตัดเป็นเพราะการตีบหรืออุดตันไปเกิดขึ้นกับเส้นเลือดแดงใหญ่ โดยเฉพาะเส้นกลางสมองอาจบวมมาก และส่งผลไปถึงก้านสมองที่มีศูนย์ควบคุมต่าง ๆ ของร่างกายที่สำคัญอยู่บริเวณนั้น จึงอาจส่งผลทำให้เสียชีวิตได้ คุณหมอจึงจำเป็นจะต้องผ่าตัดเพื่อรักษาชีวิตผู้ป่วย 

ส่วนคนไข้ที่เส้นเลือดในสมองแตก คุณหมอจะพิจารณาเป็นรายบุคคลว่าการดูแลรักษาจำเป็นจะต้องผ่าเอาก้อนเลือดออกไปหรือไม่ โดยจะพิจารณาจากปัจจัย 3 อย่าง ได้แก่

1. อาการ 

จะต้องดูก่อนว่าการเคลื่อนไหวการตอบสนองต่าง ๆ ดีหรือแย่ลง กลุ่มที่อาการไม่ดีหรือแย่ลงจะได้รับการตรวจมาตรฐานและจำเป็นจะต้องผ่าตัด

2. ขนาดของก้อนเลือด 

คุณหมอจะดูว่าเป็นขนาดของก้อนเลือดเล็กหรือใหญ่ หากเป็นก้อนเล็กจะไม่ผ่าเนื่องจากก้อนจะสลายไปเอง แต่ถ้าเป็นก้อนเนื้อขนาดใหญ่ที่มีขนาด 30 CC. ขึ้นไปย่อมมีแนวโน้มที่จะต้องผ่าตัด

3. ตำแหน่งของก้อนเลือด 

คุณหมอจะพิจารณาว่าตำแหน่งสามารถผ่าได้หรือไม่ เช่น กรณีที่ก้อนเลือดแตกอยู่บริเวณก้านสมองคุณหมอจะไม่เสี่ยงที่จะเข้าไปผ่าตรงส่วนนี้ เนื่องจากเป็นส่วนที่มีความสำคัญมาก และอาจส่งผลเสี่ยงที่ไม่ดีได้มากกว่า

อัมพฤกษ์ อัมพาต ป้องกันได้อย่างไร

อัมพฤกษ์ อัมพาต การป้องกันที่ดีที่สุดคือ การไม่ให้เรามีปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และภาวะอ้วน โดยหลักจะต้องควบคุมปัจจัยต่อไปนี้

  • งดอาหารที่มีรสเค็มและอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง 
  • งดบุหรี่ เลี่ยงควันบุหรี่
  • ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • หมั่นตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 – 2 ครั้ง เพื่อตรวจเบาหวาน และไขมันในเลือด
  • วัดความดันโลหิตของตนเองเพื่อจะได้ทราบว่าตนเองมีความดันโลหิตสูงหรือไม่
  • ออกกำลังกายเพื่อลดโรค

นอกจากนี้หากคุณหรือคนที่คุณรักป่วยเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต แต่ไม่รู้ว่าควรพักรักษาตัวเองที่ใดจึงจะส่งผลดีต่อการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายมากที่สุด เลือกเรา ISHII ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพราะเราช่วยดูแลคุณได้ด้วยมีทีมแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ อีกทั้งมีมาตรฐานการร่วมมือการสร้างศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจากโรงพยาบาลอิชิ ประเทศญี่ปุ่นร่วมด้วย ทำให้มั่นใจได้ว่าเราสามารถดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยได้อย่างมีมาตรฐานสากล ตามปณิธานที่ตั้งใจให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตได้เหมือนเดิมมากที่สุด

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

อัมพฤกษ์ อัมพาตต่างกันอย่างไร

อัมพฤกษ์ยังสามารถขยับเคลื่อนไหวร่างกายได้บางส่วน แต่อัมพาตหมายถึงอาการที่ไม่สามารถขยับเคลื่อนไหวร่างกายได้เลย

Similar Posts