Highlight! ไขมันในหลอดเลือดสูงอันตรายแค่ไหน มารู้สู้โรคไปพร้อมกัน
เนื่องจากภาวะไขมันในหลอดเลือดสูงเป็นภาวะที่พบเจอได้ค่อนข้างบ่อย โดยเฉพาะในวัยกลางคนไปจนถึงคนวัยสูงอายุ ดังนั้นการศึกษาเพื่อทำความรู้จักกับโรคชนิดนี้แล้วเตรียมรับมือล่วงหน้าจะทำให้เราสามารถป้องกัน และดูแลตัวเองได้อย่างถูกต้อง วันนี้บทความของเราจึงจะมานำเสนอตั้งแต่ไขมันในหลอดเลือดสูง คืออะไร ไขมันในหลอดเลือดสูง อาการเป็นอย่างไร ตลอดจนไขมันในหลอดเลือดสูง กินอะไรดีต่อสุขภาพ ให้ได้ทราบไปพร้อมกัน
เคยสงสัยหรือไม่ว่าไขมันในหลอดเลือดสูง คืออะไร!?
ภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง คือภาวะที่มีความผิดปกติของไขมันในเลือด สำหรับภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง สาเหตุมี 2 สาเหตุสำคัญ ได้แก่
1. ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
ไขมันในหลอดเลือดสูง เกิดจากคุณพ่อคุณแม่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันได้ลดลง
2. การบริโภคอาการที่มีไขมันสูงและไม่ออกกำลังกาย
การบริโภคเนื้อสัตว์หรืออาหารทอดที่มีน้ำมัน ตลอดจนการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากและเป็นประจำ ส่งทำให้มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง มีไตรกลีเซอไรด์สูง หรืออาจมีระดับไขมันดี HDL ในเลือดต่ำ โดยเมื่อทุกคนไปตรวจจะพบกับค่าของไขมันที่ถูกแจกแจงออกมาเป็น 4 ค่า ได้แก่
- คอเลสเตอรอลรวม
- ไตรกลีเซอไรด์
- LDL (ไขมันไม่ดี)
- HDL (ไขมันดี)
3. การใช้ยาบางชนิด
เช่น สเตียรอยด์ ฮอร์โมนเพศหรือยาคุมกำเนิด
รู้สู้โรคไขมันในหลอดเลือดสูง อาการอย่างไรต้องระวัง!
ส่วนใหญ่ภาวะการมีไขมันในหลอดเลือดสูง อาการมักไม่แสดงออกมา แต่อาการจะแสดงออกมาได้เมื่อมีไขมันในหลอดเลือดสูงที่ค่อนข้างมาก เป็นมานานจนทำให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ ขึ้นได้ โดยอาการมักจะเป็นอาการแบบปัจจุบันทันด่วนนั่นเอง ไม่มีอาการใดบ่งบอกเตือนล่วงหน้า ซึ่งเราทุกคนสามารถตรวจสอบตัวเองได้จากอาการต่อไปนี้
1. มีอาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติ
เช่น จากที่เคยออกแรงทำงานได้ในระดับหนึ่ง แต่เมื่อปฏิบัติกิจวัตรเดิมทำงานแบบเดิมแต่กลับรู้สึกว่าช่วงนี้เหนื่อยได้ง่ายกว่าปกติ อาจสังเกตได้จากแค่เดินหรือขึ้นลงบันได ตลอดจนมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกร่วมด้วย อาการเหล่านี้ถือเป็นสัญญาณเตือนของโรคหัวใจ หากมีอาการจึงควรไปตรวจเช็กกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากอาการที่ค่อนข้างอันตราย
2. มีอาการเดินโซเซ ทรงตัวไม่อยู่ หรือมีอาการอ่อนแรง
เช่น อ่อนแรงที่ขาหรือแขน ส่วนใหญ่มักจะเป็นอาการอ่อนแรงครึ่งซีกถ้ามีอาการเหล่านี้อาจสงสัยได้ว่ามีความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง ซึ่งสัมพันธ์กับการมีไขมันในหลอดเลือดสูง แล้วไขมันไปอุดตันในเส้นเลือดจึงส่งผลทำให้มีอาการเหล่านี้แสดงออกมาได้ หรือกล่าวได้ว่ามันคือสัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมองตีบนั่นเอง ดังนั้นถ้ามีอาการควรรีบไปพบแพทย์
3. มีอาการปวดตามข้อ งอเหยียดแขนขาได้ไม่ถนัด
อาการนี้อาจไม่ได้มีความจำเพาะเจาะจงกับภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง มันอาจจะเกิดขึ้นมาได้จากหลายสาเหตุ แต่ถ้ามีอาการเหล่านี้ขึ้นมาการไปตรวจจะช่วยแยกแยะได้อย่างชัดเจนว่าเกิดมาจากอะไร เนื่องจากส่วนหนึ่งของสาเหตุอาจมาจากการมีก้อนไขมันเข้าไปเกาะที่เอ็นกล้ามเนื้อ (xanthoma) ส่งผลทำให้มีอาการปวดเกิดขึ้น การงอเหยียดแขนขาก็ทำได้ลำบาก อย่างไรก็ตามอาการนี้จะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีไขมันในหลอดเลือดสูงค่อนข้างมาก จนทำให้เกิดก้อนไขมันขึ้น
4. มีตุ่มหรือปื้นที่บริเวณหัวตา เปลือกตา
เนื่องจากการที่ไขมันในหลอดเลือดสูงมาก ทำให้เกิดก้อนไขมัน (xanthoma) ไปเกาะอยู่บริเวณเปลือกตาหรือหัวตา หากมีอาการเหล่านี้จึงควรไปตรวจกับแพทย์
5. มีอาการปวดแน่นในท้องร้าวไปข้างหลัง
อาการมักจะดีขึ้นเมื่อนั่งหรือโน้มตัวไปข้างหน้า แต่ถ้านอนลงอาการปวดจะมีมากขึ้น อาการลักษณะนี้อาจเป็นสัญญาณเตือนบอกว่ามีภาวะตับอ่อนอักเสบจากการที่มีไขมันไตรกลีเซอไรด์ในปริมาณที่สูงเกินกว่า 500 หากมีลักษณะควรรีบพบแพทย์
นอกจากนี้ในคนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปควรมีการตรวจเช็กสุขภาพประจำปี เพื่อจะได้ตรวจสอบเช็กว่าไขมันในหลอดเลือดสูงเกินเกณฑ์ที่กำหนดแล้วหรือไม่ หากพบว่าเกินเกณฑ์จึงจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหากสูงเกินเกณฑ์มากก็อาจจะต้องทานยานั่นเอง
รู้สู้โรคไขมันในหลอดเลือดสูง อันตรายแค่ไหน
ไขมันในหลอดเลือดสูง คือภาวะที่เลือดมีความหนืดสูงกว่าปกติ ส่งผลทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง เมื่อสะสมจะเกิดความผิดปกติกับอวัยวะต่าง ๆ เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงได้ไม่เพียงพอ หรือเลือดอุดตัน เช่น หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ หรือหลอดเลือดที่สมอง ไขมันในหลอดเลือดสูงจึงถึงขั้นเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
รู้สู้โรคไขมันในหลอดเลือดสูง เสี่ยงเป็นโรคใดบ้าง
ไขมันในหลอดเลือดสูงส่งผลทำให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น
- หลอดเลือดสมองตีบ
- หลอดเลือดหัวใจอุดตัน
- โรคสมองขาดเลือด
- โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
- พิการหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้
รู้สู้โรคไขมันในหลอดเลือดสูง การดูแลตัวเอง
การป้องกันตัวเองไม่ให้มีระดับไขมันในหลอดเลือดสูง คือการควบคุมอาหาร น้ำหนัก ออกกำลังกายเป็นประจำ และไม่ลืมที่จะตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อเช็กระดับไขมันในเลือดและความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ
ปรับก่อนป่วย: ไขมันในเลือดสูงห้ามทานอะไรบ้าง
อาหารที่มีไขมันควรเลี่ยง คืออาหารที่มีไขมันประดิษฐ์ (trans fat) เป็นไขมันที่ทำพิษต่อร่างกาย โดยทรานส์แฟตจะอยู่ในอาหารต่อไปนี้ เช่น
- มาการีน
- เนยเทียม
- เค้ก
- คุกกี้
- เบเกอรี่
นอกจากนี้ไขมันอิ่มตัวก็ไม่ควรรับประทาน โดยไขมันอิ่มตัวจะอยู่ในอาหารต่อไปนี้ เช่น หมูสามชั้น ขาหมู
ปรับก่อนป่วย: ไขมันในเลือดสูงรักษาหายไหม
การรักษาโรคไขมันในเลือดสูงนั้นสามารถรักษาให้หายได้ ทั้งนี้มันเป็นเรื่องของการดูแลควบคุมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยเองทั้งการลดอาหารจำพวกขนม ผลไม้ที่มีรสหวานจัด อาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และจะต้องหันมาทานผักผลไม้ให้มากขึ้น ตลอดจนงดแอลกอฮอล์ บุหรี่ หมั่นออกกำลังกายและทำกิจกรรมคลายเครียดเหล่านี้เป็นต้น

สำหรับการดูแลตนเองหรือคนที่เรารักในโรคที่มีสาเหตุมาจากไขมันในเลือดสูง อาทิ โรคหลอดเลือดสมอง ไปจนถึงขั้นเส้นเลือดแตกแล้วต้องการจะฟื้นฟูให้ตนเองหรือคนที่รักกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด จำเป็นจะต้องอยู่ในความดูแลของสถานที่ ที่มีมาตรฐานระดับสากลอย่าง ISHII ซึ่งเป็นศูนย์ฟื้นฟู้ผู้ป่วย มีสถานที่สบาย ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลตัวเองอย่างผ่อนคลายในพื้นที่ส่วนตัวจากทีมแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัดระดับวิชาชีพ ดังนั้นเรื่องสุขภาพจึงควรเลือกอิชิ ที่มีมาตรฐานเดียวกันกับโรงพยาบาลอิชิในประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
ไขมันในหลอดเลือดสูงเท่าไหร่ต้องกินยา
สำหรับไขมันที่ไม่ดี 2 ประเภทที่เป็นตัวบ่งบอกว่าสุขภาพของคุณแย่ถึงขั้นต้องทานยาไขมัน คือ
1. LDL
2. Triglyceride
หากไปตรวจสุขภาพประจำปีแล้วค่าของไขมันทั้งสองเกินเกณฑ์ปกติ อาจจะยังไม่ต้องทานยาลดไขมันทันที แต่สามารถเริ่มจากการกลับไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคุมอาหาร และออกกำลังกายก่อนได้ แต่ถ้ากลับมาตรวจคอเลสเตอรอลซ้ำค่าดังกล่าวยังไม่ลดลงในระยะ 3 – 6 เดือน ค่ายังคงสูงเกินเกณฑ์นั้นหมายความว่าคุณจึงจำเป็นจะต้องทานยา
ไขมันในหลอดเลือดสูงกินเหล้าไหม
สำหรับผู้ที่มีไขมันในหลอดเลือดสูงเหล้าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทาน ควรที่จะเลี่ยง เพราะภายในแอลกอฮอล์มีฤทธิ์สะสมไขมันตามเนื้อเยื่อนั่นเอง