ต้องรู้! หลอดเลือดหัวใจตีบ อาหารที่เหมาะสมยิ่งทานยิ่งดี

หลอดเลือดหัวใจตีบ อาหารที่เหมาะสมหลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าจะต้องเลือกรับประทานอย่างไร บทความของเราวันนี้จึงเลือกที่จะนำเสนอความรู้เพื่อทำความเข้าใจให้กับทุกคนที่สงสัยตั้งแต่ หลอดเลือดหัวใจตีบ อาการเป็นอย่างไร และหลอดเลือดหัวใจตีบ รักษา และป้องกันอย่างไรได้บ้าง ตลอดจนหากเป็นโรคแล้วต้องศึกษาลึกไปถึงรายละเอียดที่ว่าหลอดเลือดหัวใจตีบ กินอะไรดีต่อสุขภาพ และมีอะไรบ้างที่ไม่ควรรับประทาน วันนี้เราจะพาทุกคนศึกษาและเรียนรู้ไปพร้อมกัน

หลอดเลือดหัวใจตีบ คืออะไร อาการเป็นอย่างไร

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบสาเหตุหลัก

เกิดมาจากไขมันหรือหินปูนพอก เป็นสาเหตุทำให้เกิดการตีบแคบของผนังหลอดเลือดด้านใน ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้น้อยลง หรือไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่ได้ ทั้งนี้การป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อาหารถือเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคได้ เพราะอาหารบางชนิดทำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง โดยมีไขมันที่ไม่ดี 2 ชนิด ได้แก่ คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ 

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ มักมีอาการใด 

ต้องตอบว่าหลอดเลือดหัวใจตีบ ส่งผลทำให้หัวใจขาดเลือด ดังนั้นผู้ป่วยส่วนหนึ่งอาจจะเข้ารักษาตัวเมื่อตนเองมีอาการดัง ต่อไปนี้

  • เจ็บ แน่นหน้าอกบริเวณด้านซ้าย
  • อึดอัดไม่สบายตัวช่วงส่วนบนหน้าอกขึ้นไป หรือเจ็บหลัง
  • ปวดร้าวที่ไหล่
  • ปวดร้าวขึ้นมาที่กราม
  • บางรายอาจรู้สึกจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่
  • บางรายอาจมีอาการเหงื่อแตก ใจสั่นหน้ามืด เป็นลม
  • รู้สึกเหนื่อยเมื่อออกแรง โดยเหนื่อยง่ายขึ้น
  • อาการร้ายแรงอาจหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน หรือหมดสติ

หากมีอาการเหล่านี้จึงไม่ควรวางใจ ควรที่จะพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาการที่กล่าวมาส่วนหนึ่งเป็นอาการเริ่มต้นของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบนั่นเอง

ใครที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

1. ประเภทความเสี่ยงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ได้แก่

  • เพศชายจะมีความเสี่ยงเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมากกว่าเพศหญิง ส่วนของเพศหญิงความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นหลังหมดประจำเดือน
  • อายุมากขึ้นจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 45 ปี จะมีความเสี่ยง ส่วนของผู้หญิงอายุ 55 ปีขึ้นไปก็จะเสี่ยงมากขึ้นเช่นกัน
  • พันธุกรรม 

2. ประเภทความเสี่ยงที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ได้แก่

  • การสูบบุหรี่
  • การไม่ออกกำลังกาย
  • น้ำหนักที่เพิ่มหรือเป็นโรคอ้วน
  • การป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง

หลอดเลือดหัวใจตีบ ป้องกันอย่างไรได้บ้าง

หากกล่าวถึงการป้องกันตัวไม่ให้ก้าวเข้ามาเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อาหารและการรับประทานที่ควรคำนึงถึงคือ อาหารที่มีไขมันสูง เนื่องจากมันเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะเข้ามาเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

ดังนั้นหลอดเลือดหัวใจตีบจึงป้องกันได้โดยการเลือกรับประทานอาหารที่มีดีต่อหัวใจอย่างผัก ผลไม้ และลดการรับประทานอาหารที่มีการปรุงแต่งมาก ๆ ตลอดจนการควบคุมความดันโลหิตสูง เบาหวาน โดยถ้ามีปัญหาให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 20 – 30 นาที เพราะพบว่าจะช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้

หลอดเลือดหัวใจตีบ อาหารที่สามารถทานได้

สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อาหารที่รับประทานได้ มีดังนี้ 

  • เลือกรับประทานเนื้อที่ไม่ติดมัน เช่น เนื้อหมูสันใน หมูเนื้อแดง 
  • เนื้อปลา
  • เนื้ออกไก่
  • ไข่ขาว
  • เต้าหู้
  • เลือกรับประทานน้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน ซึ่งเหมาะกับอาหารประเภทผัด หรือเลือกน้ำมันรำข้าว ที่สามารถประกอบอาหารได้ทั้งเมนูผัดและเมนูทอด

อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อาหารควรจะต้องปรับเปลี่ยน โดยเริ่มจากเปลี่ยนพฤติกรรมมารับประทานอาหารในเมนูที่มีน้ำมันน้อยลง เช่น เมนูต้ม อบ นิ่ง ยำ ย่าง หรือเมนูผัดที่ใช้น้ำมันน้อยลง เพราะจะช่วยลดปริมาณไขมันในอาหารลงได้ และควรที่จะรับประทานอาหารให้หลากหลายครบทั้ง 5 หมู่ โดยเฉพาะผลไม้สด และผักต่าง ๆ เพราะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อาหารเสริมที่ทำให้ร่างกายได้รับวิตามิน กากใยที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย คือผักและผลไม้นั่นเอง

หลอดเลือดหัวใจตีบ อาหารที่ไม่ควรทาน

สำหรับอาหารที่เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ได้แก่

  • เนย
  • ครีมเทียม
  • กะทิ
  • เบเกอรี่
  • เนื้อสัตว์ติดมัน
  • เนื้อสัตว์แปรรูปต่าง ๆ เช่น ไส้กรอก เบคอน

เหตุที่ไม่ควรรับประทานเนื่องจากอาหารเหล่านี้จะเข้าไปเพิ่มระดับไขมันในเลือดนั่นเอง

การเลือกใช้น้ำมันในการปรุงอาหาร

ควรหลีกเลี่ยงน้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัวสูง ได้แก่ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม และน้ำมันหมู เนื่องจากน้ำมันเหล่านี้จะเข้าไปเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี หรือ LDL คอเลสเตอรอล

หลอดเลือดหัวใจตีบ รักษาอย่างไรได้บ้าง

ปัจจุบันมีวิธีรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสามารถแบ่งได้ 3 กลุ่มใหญ่ดังนี้

1. การรักษาด้วยยา

ต้องพบแพทย์เพื่อกินอย่างสม่ำเสมอ และป้องกันไม่ให้เส้นเลือดตีบไว

2. การรักษาด้วยการตรวจหัวใจ แล้วจึงไปทำบอลลูน 

เพื่อขยายหลอดเลือดนั้น เพื่อให้เส้นเลือดไม่ตีบหรือตีบน้อยลง หรือใส่ขดลวดค้ำยันเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ 

3. การรักษาด้วยการผ่าตัด

สำหรับการรักษาวิธีใด ขึ้นอยู่กับลักษณะของโรคว่าอยู่ในระดับไหน นอกจากนี้ยังมีการรักษาที่เรียกว่า “การฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจ” อีกด้วย 

ใครที่อ่านมาถึงส่วนนี้แล้วมีความกังวลว่าจะดูแลตัวเองหรือคนที่คุณรักอย่างไรหากพวกเขาเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เรา “ISHII” ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่มีมาตรฐานสากล พร้อมให้การดูแลอย่างใกล้ชิดด้วยทีมแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ และเรายังมีเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย เพื่อให้ผู้ป่วยได้ฟื้นฟูตัวเองให้กลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

หลอดเลือดหัวใจตีบ ห้ามกินอะไร

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อาหารห้ามทานอาหารต่อไปนี้ 
– เนื้อสัตว์ติดมัน เช่น หมูติดมัน ขาหมู หมูกรอบ เบคอน รวมถึงหนังไก่ เพราะมันมีไขมันไม่ดีอย่างคอเลสเตอรอสสูง ส่งผลทำให้เส้นเลือดตีบลงและอาจเส้นเลือดหัวใจอุดตันอันตรายถึงชีวิตได้

– เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม แหนม เนื่องจากมีไขมันอิ่มตัวสูง ทำให้ร่างกายมีไขมันเลว LDL สูง จนเส้นเลือดอุดตันได้

– ขนมเบเกอรี่ เช่น เค้ก คุกกี้ โดนัท บราวนี่ หรือขนมปังปรุงแต่ง เนื่องจากมีไขมันสูง อีกทั้งยังส่วนประกอบของเนยเทียม มาการีนที่มีไขมันทรานส์

Similar Posts