ไขข้อสงสัย stroke คืออะไร อาการเป็นอย่างไร และใครบ้างที่เสี่ยงจะเป็น!

Stroke โรคใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้ามอีกต่อไป เพราะไม่มีสิทธิ์รู้ได้เลยว่ามันจะเกิดขึ้นกับเราเมื่อไหร่ หลายคนน่าจะเคยได้ยินและรู้จักกับโรคนี้พอสมควร แต่ก็มีอีกหลายคนเช่นเดียวกันที่เคยได้ยินชื่อ แต่ไม่รู้ว่ามันคือโรคเกี่ยวกับอะไร อันตรายมากน้อยแค่ไหน และโรคนี้มันเกิดจากปัจจัยอะไรบ้างทำไมถึงบอกว่ามันใกล้ตัว บทความของเราในวันนี้จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโรค Stroke อันตรายรอบตัวที่รู้ไวป้องกันไว ถ้าพร้อมแล้ว ตามไปดูสาระดี ๆ กันได้เลยค่ะ 

stroke คืออะไ

Stroke หรือชื่อภาษาไทยเรียกว่า โรคหลอดเลือดสมอง เป็นภาวะที่เกิดความผิดปกติบริเวณหลอดเลือดสมอง เกิดได้หลายลักษณะทั้งตีบและอุดตันทำให้เลือดและออกซิเจนไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ ส่งผลให้ร่างกายบางส่วนไม่สามารถใช้งานได้หรือเรียกอีกอย่างว่าอัมพาตหรือบางรายอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เช่นเดียวกัน 

stroke มีกี่แบบ

Stroke มีทั้งหมด 2 แบบด้วยกัน ดังนี้

1.หลอดเลือดในสมองตีบหรืออุดตัน (Ischemic stroke)

ถือเป็นประเภทยอดฮิตที่พบได้บ่อยในคนไทย เนื่องจากหลอดเลือดแดงเกิดความตีบตันลง เลือดไม่ไหลเข้าสู่สมองส่งผลให้เซลล์สมองตายในที่สุด โดยปัจจัยการเกิด Ischemic stroke ก็เกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น การสูบบุหรี่ ความเครียด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงเป็นต้น ซึ่งเมื่อผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ จะส่งผลให้ร่างกายผู้ป่วยรู้สึกชาไม่สามารถควบคุมร่างกายได้ครึ่งซีก หรือในทางการแพทย์เรียกว่า อัมพาตครึ่งซีก

2.หลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke)

เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ไม่บ่อยมากแต่ก็มีให้เห็นได้เรื่อย ๆ เช่นเดียวกันสำหรับหลอดเลือดในสมองแตก ปัจจัยการเกิดมักมาจากโรคที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหลอดเลือดสมองโป่งพอง หลอดเลือดสมองผิดปกติ ความดันโลหิตสูง โรคเครียดก็มีโอกาสเกิดได้เช่นเดียวกัน หากเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลให้ร่างกายอัมพฤกษ์ อัมพาตตามมาได้

stroke มีอาการอย่างไรบ้าง 

อาการ Stroke สังเกตได้ไม่ยากอย่างที่คิด หากมีอาการดังต่อไปนี้ รีบพบแพทย์ทันทีไม่ต้องรอ!

1.ปวดหัวอย่างรุนแรง

อาการปวดหัวทั่วไป หากทานยา 5-10 นาทีจะเริ่มรู้สึกคลายความปวดลงได้บ้าง แต่ Stroke จะปวดค่อนข้างรุนแรงอย่างต่อเนื่องและรุนแรงผิดปกติแบบที่ไม่เคยปวดมาก่อน

2.มีอาการคลื่นไส้ เวียนหัว มึนงง ตาพร่ามัว

หากมีอาการมึน  คลื่นไส้ ตาเริ่มพร่ามัวร่วมกับอาการปวดหัวรุนแรงให้ทุกคนมั่นใจได้เลย 80% ว่าอาการนั้น ๆ ที่เป็นอยู่มีโอกาสสูงมากที่จะเกิด Stroke

3. อ่อนเพลีย ไม่มีแรง หรือเริ่มขยับบางส่วนของแขนขาหรือใบหน้าไม่ได้

อาการขั้นนี้เริ่มรุนแรง เป็นอาการที่เริ่มบ่งบอกได้ชัดเจนว่าสมองเริ่มขาดเลือดและออกซิเจนแล้ว ควรรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที

ทั้งนี้ทั้งนั้น อาการบ่งบอกข้างต้นไม่ใช่ว่าทุกคนจะต้องมีอาการครบ 3 ข้อแล้วจึงค่อยไปพบแพทย์นะคะ บางรายอาจมีเพียงอาการปวดหัวหนักแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แต่ไม่มีอาการเวียนหัว อาเจียน หรือร่างกายชาร่วมด้วยก็เป็นได้ ฉะนั้นทางที่ดีที่สุดเพื่อความปลอดภัยหากเริ่มมีอาการปวดหัวรุนแรงชนิดที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ควรเร่งพบแพทย์โดยทันที

stroke การป้องกันไม่ให้เกิด ทำได้อย่างไรบ้าง

1. ลดความเครียด

เชื่อว่าเป็นข้อที่หลายคนอาจจะบ่นว่าทำได้ยาก แต่ทราบหรือไม่ว่าความเครียดจะกระตุ้นในร่างกายของเราหลั่งสารที่เรียกว่าอะดรีนาลีน (adrenaline) ทำให้ร่างกายตื่นตัว หัวใจเต้นเร็วเลือดสูบฉีดส่งผลให้ความดันโลหิตสูง และยังมีสารคอร์ติซอลที่ถูกหลั่งออกมาเมื่อเกิดความเครียด ส่งผลต่อน้ำตาลในเลือดซึ่งอาจก่อให้เกิด Stroke ตามมาได้

2. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่

ควันบุหรี่มีผลโดยตรงต่อผนังของหลอดเลือด ในระยะยาวอาจทำให้เกิดพังผืด จนเส้นเลือดในสมองเกิดการอุดตันได้ และแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดขยายตัวและกระตุ้นการสูบฉีดเลือด ก่อให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงและอาจเสี่ยงต่อ ภาวะหลอดเลือดในสมองแตก

3.ทานอาหารที่มีประโยชน์ งดของทอด ของมัน

อาหารที่ให้ไขมันหรือน้ำมันแก่ร่างกายสูง ไขมันเหล่านั้นอาจจะสะสมและอุดตันในเส้นเลือด ก่อให้เกิด Stroke ตามมาได้เช่นเดียวกัน

4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

สร้างความแข็งแรงและภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายได้ง่าย ๆ ด้วยการออกกำลังกาย และการออกกำลังกายยังช่วยหลั่งสารแห่งความสุข หรือ Endorphine ให้กับร่างกายได้อีกด้วย 

การดูแลผู้ป่วย stroke สำหรับญาติ ๆ 

1.ควบคุมให้ทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด 

การทานยาให้ครบและตรงต่อเวลาเป็นสิ่งสำคัญ จะช่วยให้ร่างกายไม่ดื้อยา และตอบสนองต่อยาได้เป็นอย่างดี ถือเป็นแนวทางการดูแลผู้ป่วย stroke ที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ค่ะ

2.ควบคุมเรื่องการทานอาหาร 

เรื่องอาหารถือเป็นสำคัญ ผู้ป่วย stroke ควรเลี่ยงการทานอาหารทะเล และเน้นอาหารที่ให้ไขมันต่ำ งดอาหารที่ใช้น้ำมัน เพื่อป้องกันการอุดตันในเส้นเลือดซ้ำซ้อน

3.การทํากายภาพบําบัดผู้ป่วย stroke

เนื่องจากผู้ป่วย stroke จะมีอาการชาหรืออัมพาตบางส่วนของร่างกาย ดังนั้นควรมีการกายภาพบำบัดเพื่อช่วยให้ร่างกายผู้ป่วยกลับมาตอบสนองได้มากที่สุด และจำเป็นต้องทำอย่างสม่ำเสมออีกด้วยค่ะ

4.หลีกเลี่ยงการรับรู้เรื่องเครียด

ความเครียดและ Stroke ถือเป็นสิ่งที่ไม่ถูกกัน ดังนั้นหากไม่อยากให้ผู้ป่วยอาการทรุดหนัก พยาบาลหากิจกรรมอื่น ๆ ที่ให้ผู้ป่วยรู้สึกอุ่นใจ เบาใจ และมีความสุขแทน เพราะหากสุขภาพจิตใจดีผู้ป่วยก็จะมีกำลังใจในการสู้กับการกายภาพต่อนั้นเอง  

การที่คนไข้ Stroke จะฟื้นตัวได้ไวหรือไม่นั่นก็ขึ้นอยู่กับผู้ดูแลด้วยเช่นกันค่ะ หากดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยเป็นอย่างดีและถูกวิธี หมั่นทำกายภาพบำบัดอยู่เสมอ อาการของผู้ช่วยก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นเป็นระดับ แต่หากใครที่ไม่มีเวลาหรือกลัวว่าจะดูแลผิดวิธี ก็สามรถเลือกใช้บริการ ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อิชิ ให้ดูแลคนที่คุณรักแทนได้อย่างหมดห่วง ที่ศูนย์มีบริการกายภาพบำบัด ฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วย โดยทีมแพทย์และพยาบาลที่ผ่านการรับรองวิชาชีพเฉพาะด้าน หากท่านสนใจสามารถติดต่อได้ที่เบอร์ 084 458 4591 Facebook หรือ Email : Ishiistrokecenter@gmail.com ได้เลยค่ะ 

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

stroke กับ heat stroke ต่างกันอย่างไร

Stroke และ Heat stroke แม้ชื่อจะคล้ายกันแต่อาการของโรค การรักษา และความรุนแรงแตกต่างกัน Heatstroke หรือเรียกอีกชื่อว่าโรคลมแดด คือโรคที่เกิดจากความร้อนทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงเกินกว่าที่ร่างกายจะรับไหว และร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ทัน ทำให้เกิดอาการช็อค หมดสติ ซึ่งส่งผลทำให้สมองและหัวใจหยุดทำงาน หากรักษาไม่ทันเวลาก็อาจส่งผลให้พิการ ร้ายแรงถึงเสียชีวิตได้ในที่สุด แต่ Stroke จะเกิดได้จากหลายปัจจัยไม่ใช่ภูมิสภาพทางอากาศเท่านั้น 

Similar Posts