คุณสมบัติของยาไขมันในเส้นเลือด หรือยาลดไขมันในเลือด เหมาะกับใคร และข้อควรรู้!

ในปัจจุบันหลายคนมีการใช้ยาไขมันในเส้นเลือด  ได้ง่ายมากเนื่องจากเป็นยาที่สามารถซื้อได้จากร้านขายยาทั่วไป โดยไม่ต้องเข้าพบแพทย์หรือมีใบสั่งยาจากแพทย์ก็ได้ ซึ่งหลายคนอาจมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้ยาชนิดนี้โดยไม่รู้ตัว เพียงเพราะคิดว่ามันจะช่วยลดไขมันในเลือดได้ โดยอาจไม่ทราบถึงผลข้างเคียงและความรู้เกี่ยวกับตัวยา ในวันนี้เราจึงมีข้อมูลเกี่ยวกับยาไขมันในเส้นเลือดนี้มาให้ทุกคนเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน

ยาลดไขมันในเลือด simvastatin คือตัวยาที่ใช้ในการรักษาโรคไขมันในเลือดสูง ยาลดไขมันในเลือด คุณสมบัติ ช่วยยับยั้งเอนไซม์ที่เกี่ยวกับการสร้างไขมันและช่วยขับไขมันชนิดที่ไม่ดีต่อร่างกายออกไป ลดโอกาสเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง และไขมันอุดตันในเส้นเลือด

สาเหตุหลักของการเกิดไขมันในเส้นเลือดคือการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง มีน้ำตาลมาก หรือการทานอาหารในปริมาณที่มากเกินที่ร่างกายต้องการต่อวันจนเกิดเป็นไขมันส่วนเกิดสะสม นอกจากนี้ยังเกิดได้จากพันธุกรรม การทำงานของระบบเผาผลาญที่ผิดพลาด เผาผลาญได้ช้าลงทำให้เกิดไขมันตกค้างนั่นเอง

ยาลดไขมันในเส้นเลือดสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง ที่แพทย์นิยมใช้ในการรักษา มีหลัก ๆ 6 ชนิดด้วยกันดังต่อไปนี้

1. ยาลดไขมันในเลือด simvastatin

ตัวยายับยั้งการสร้างไขมัน เพื่อลดไขมันอุดตันและไขมันส่วนเกินในร่างกาย เป็นตัวยาที่ได้รับความนิยมสูงสุดในหมู่ยาไขมันในเส้นเลือดเลยก็ว่าได้

2. ยาลดไขมันในเลือด atorvastatin

ตัวยาลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีต่อร่างกาย และช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ในเลือด เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง

3. ยาลดไขมันในเลือด Pravastatin

ตัวยาลดไขมันในเลือดที่นิยมใช้ควบคู่ไปกับการดูแลตนเอง เช่น ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมปริมาณอาหารที่รับประทาน ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง เช่นเดียวกับ atorvastatin

4. ยาลดไขมันในเลือด Fluvastatin

ตัวยายับยั้งและชะลอการสร้างไขมันที่ไม่ดีต่อร่างกาย เน้นการสร้างไขมันดี สามารถใช้ได้กับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ลดโอกาสเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดแข็งตัว

5. ยาลดไขมันในเลือด Rosuvastatin

ตัวยาใช้รักษาอาการไขมันในเลือดสูง ลดคอเลสเตอรอลในร่างกาย ช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่นหัวใจวาย หลอดเลือดในสมองแตก หรือตีบตัน เป็นต้น

6. ยาลดไขมันในเลือด Pitavastatin

เช่นเดียวกับยาชนิดอื่น ๆ คือมีคุณสมบัติในการลดการสร้างคอเลสเตอรอลในร่างกาย ยาชนิดนี้สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 8 ปีขึ้นไป

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาลดไขมันที่จัดว่าเป็นอาการข้างเคียงปกติทั่วไปซึ่งอาการข้างเคียงเหล่านี้จะมีเล็กน้อยและไม่รุนแรงมากนัก มีดังต่อไปนี้

  • เวียนศีรษะ บางรายอาจมีอาการหน้ามืด
  • อาเจียน

แต่หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์และหยุดยาในทันทีเนื่องจากถือว่ามีอาการข้างเคียงที่รุนแรง อาจเกิดจากการแพ้ยา หรือไตทำงานหนักผิดปกติ

  • ปัสสาวะสีคล้ำ ดำ
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เมื่อลองกด ๆ จะรู้สึกเจ็บผิดปกติ
  • อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง แม้ไม่ได้ทำอะไร

  1. ปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาและตัวยาที่ถูกต้องตรงกับอาการ ไม่ควรซื้อยาทานเอง
  2. ทานอาหารที่มีประโยชน์ ไขมันต่ำ น้ำตาลน้อย งดแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม น้ำหวาน และควรทานอาหารในปริมาณที่พอดี
  3. ออกกำลังกาย เพื่อกระตุ้นระบบเผาผลาญให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร่างกายจะได้ไม่มีไขมันส่วนเกินตกค้าง
  4. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่สมดุล ไม่อ้วน ไม่ผอมจนเกินไป เพื่อให้ร่างกายมีสมดุลมากยิ่งขึ้น

โดยสรุปแล้วยาลดระดับไขมันในเลือด เป็นตัวยาที่เน้นไปที่การยับยั้งการสร้างคอเลสเตอรอลในร่างกาย และลดโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ มากมาย ซึ่งยังคงยืนยันเช่นเดิมว่าการใช้ยาชนิดนี้ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ หรือสามารถรับคำแนะนำได้จากศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อิชิ หรือโทร 084 458 4591 Facebook หรือ Email : Ishiistrokecenter@gmail.com  เพื่อป้องกันการใช้ยาที่ผิดพลาดและผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่ผิดพลาดนั่นเอง และนอกจากได้ยารักษาอย่างถูกต้องแล้วก็อย่าลืมที่จะดูแลตนเองด้วยการเลือกทานของที่มีประโยชน์ด้วยนะคะ

ยาลดไขมันใน เส้นเลือด อันตราย ไหม

ยาลดไขมันในเลือดไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มยาอันตรายแต่การกินยาชนิดนี้ควรได้รับคำสั่งจากแพทย์ ไม่ควรซื้อทานเองตามอำเภอใจ เนื่องจากการทานยาชนิดนี้ในปริมาณมากและไม่ได้รับคำปรึกษาจากคุณหมออาจส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อและระบบไตได้เช่นกัน

ยาลดไขมันในเส้นเลือดกินตอนไหน

ขึ้นอยู่กับคำสั่งของแพทย์ แต่โดยปกติแล้วจะนิยมในทานวันละ 1 เม็ดก่อนนอนหรือช่วงเย็นของวันนั้น ๆ

ไขมันในเลือดเท่าไหร่ถึงต้องกินยา

การทานยาลดไขมันในเลือด จะทานได้ก็ต่อเมื่อปริมาณคอเลสเตอรอลในร่างกายสูงกว่า 240 มก.% หรือตามดุลยพินิจของแพทย์ว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือดสูงหรือไม่ หากแพทย์มองว่ามีโอกาสสูงก็อาจสั่งยาให้รับประทานได้เช่นกัน

Similar Posts